ค้นหาบล็อกนี้


15 สิงหาคม 2554

การพูด


การพูดในที่สาธารณะ
            การในการพูด สร้างบุคลิกภาพที่ดี :
ไม่ว่าจะเป็นวิทยากร  พิธีกร  ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมตามบทบาท  หน้าที่ที่ได้รับ
            1.1       ด้านภาพลักษณ์
                        แต่งกายถูกกาลเทศะ  อากับกริยากระตือรือร้น  ไม่ลุกลี้ลุกลน  ใบหน้าเบิกบานแจ่มใส มองผู้อื่นอย่างเป็นมิตร  มีอัธยาศัยอี  ต้อนรับขับสู้  มีความทรงจำดี
            1.2       ด้านการพูด
-          มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด  เช่น  การทักทายที่ประชุม
-          พูดให้สละสลวย  มีความเชื่อมโยง  แต่ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
-          ไม่พูดวกวน
-          ไม่พูดด้วยท่าทีเคร่งเครียด
-          อาจมีมุกตลก / ลูกเล่นแทรก
-          ไม่เพ้อเจอเกินไป
-          พูดให้น้ำเสียงเป็นธรรมชาติ
            1.3       ด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจ
-          มีปฏิภาณไหวพริบและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
-          จิตใจสุขุมเยือกเย็น
-          ควบคุมอารมณ์ได้ดี  มีสมาธิดี
1.            การเตรียมตัวก่อนการพูด :
            2.1       เตรียมเนื้อหา 
                        ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะพูดอย่างดี  โดยการค้นคว้าและการเตรียมเนื้อหาให้แม่นยำครบถ้วน
            2.2       ฝึกซ้อม 
                        ต้องซ้อมหน้ากระจกในการวางท่าทาง  การพูดในเนื้อหานั้นจนคล่องปาก  ไม่มีลักษณะเป็นการท่องจำ  พร้อมนับเวลาให้พอดี
            2.3       การเตรียมใจ 
                        สร้างความมั่นใจ  ถ้าประหม่าให้สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ
3.   การใช้ไมโครโฟน (ไมค์)
            3.1       การจัดเตรียมไมค์  
                        เป็นหน้าที่ของผู้จัดการประชุมหรือผู้ฝึกอบรม   ซึ่งมีหน้าที่ต้องทดสอบว่าไมค์ ใช้การได้ดีมีเสียงดัง  ไม่ควรเคาะไมค์  ถ้าไม่พร้อมผู้จัดต้องขอโทษวิทยากร
            3.2       วิธีการจัดไมค์ที่ถูกต้องในการพูด
-          ถ้าเป็นไมค์ขาตั้ง  ต้องปรับระดับไมค์ให้พอดีกับความสูงของผู้พูดเอง  ไม่สูงจนต้องยืด  หรือต่ำจนต้องก้ม  ถ้าปรับระดับไม่ได้ถอดออกมาถือเลย
-          การถือไมค์ใช้มือข้างเดียว  ให้กำที่ตำแหน่งด้ามมือ  ไม่ใช่หัวไมค์  ไม่เดาะ  ไม่เกา  ไม่ขูดไมค์  จะเกิดเสียงน่ารำคาญ  ถ้าหอนให้หันหัวไมค์ออกห่างจากลำโพง
-          ระยะจากปากถึงหัวไมค์  โดยปกติประมาณ  1  ฝ่ามือ  ขึ้นอยู่กับระดับความดังของไมค์ด้วย  ขณะพูดอาจขยับให้ใกล้เข้า  หรือไกลออกเพื่อให้ระดับเสียงที่ออกมาอยู่ในระดับพอดี   โดยพูดจ่อใส่หัวไมค์
4.   การวางท่าทางขณะพูด
            4.1       กรณีที่ยืนตรง    ไม่ก้างขามากเกินไปปลายเท้าแบะออกนิดหน่อย  ให้อยู่ในท่าที่มั่นคง  เก็บพุง ไม่กุมเข็มขัด  ไม่กุมเป้า ไม่กอดหน้าอก   ตำแหน่งที่ยืนตรงกลางเวที  อย่าหลบมุม  หันหน้าเข้าหาผู้ฟัง  ไม่มองเพดาน  ไม่เกา  ไม่หาว  ไม่ชี้หน้าผู้ฟัง (ใช้การผายมือแทน)
            4.2       การวางมือ      กรณีไมค์มีขาตั้ง  ไม่ต้องใช้มือกุมไมค์อีก  ไม่ล้วงกระเป๋า   ถ้านั่งให้วางมือ                         บนหน้าตัก   ปล่อยแขนลงธรรมดา  หรือวางมือประสานกัน
            4.3       กวาดสายตาไปทั่วห้อง  สบตาผู้ฟัง  แต่อย่าจ้อง  เพื่อไม่ให้เสียสมาธิ  ใบหน้า                                    ยิ้มละไมตลอดเวลา
5.   เทคนิคการสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
            5.1       การสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟัง  โดยการทักทายผู้ฟังที่เรารู้จัก    หรือพูดถึงเหตุการณ์ที่                                  เกี่ยวข้องกับตัวผู้ฟัง  พูดให้เห็นความสำคัญของผู้ฟังที่เชื่อมโยงกับหัวข้อที่จะพูด
            5.2       การตั้งคำถามกับผู้ฟัง  เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการตื่นตัว  ไม่กล้าหลับโดยอาจจะตั้งคำถาม                         กว้าง ๆ ไว้    ถ้าบรรยากาศมีคนหลับหรือไม่สนใจจริง ๆ  ก็ต้องสุ่มถาม  ถามเฉียด ๆ                         คนที่หลับ  แต่อย่าไล่จี้จนเกิดความกดดันแก่ผู้ฟัง  อาจมีการให้รางวัลกับผู้ที่ตอบคำถาม                        ถูก  หรืออาจถามความคิดเห็น
            5.3       ควรมีการยกตัวอย่าง  เล่าเรื่องรวมประกอบการบรรยาย  ให้แต่ละข้อหลักเสมอ  เพราะ                          คนฟังจะสนใจ
            5.4       พูดด้วยน้ำเสียงสูง ต่ำ     แล้วแต่จังหวะ  เช่น    คำพูด  /  คำถามที่ต้องการเน้น  ต้องใช้                       เสียงสูง
            5.5       มีการสอดแทรกมุกตลก   อารมณ์ขันด้วย
            5.6       มีการนำเสนอแบบหักมุม  ในสิ่งที่คนคาดไม่ถึงในคำตอบ     
            5.7       การใช้กิจกรรมที่ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม  เช่น  การใช้บทบาทสมมุติ  การแบ่งกลุ่มระดม                                ความคิดเห็น
6.   เทคนิคการแนะนำประวัติวิทยากร
      กรณีการเป็นพิธีกร    ต้องแนะนำประวัติวิทยากรก่อนการบรรยาย  ในหัวข้อดังนี้
            6.1       กล่าวถึงความสำคัญของเนื้อหา  เชื่อมโยงกับวิทยากรในเชิงที่ว่าหัวข้อเรื่องนี้ต้องเป็น                                  วิทยากรท่านนี้เท่านั้น
            6.2       กล่าวถึงความสำคัญของวิทยากร   ว่าท่านมีภารกิจมาก  กว่าจะเชิญท่านมาบรรยายได้                                 ลำบากมาก
            6.3       กล่าวถึงลักษณะเด่น  ผลงานเด่น / กล่าวสรรเสริญวิทยากร
            6.4       กล่าวถึงประวัติการณ์ศึกษา  และประสบการณ์การทำงานของท่าน
            6.5       กล่าวถึงตำแหน่งและชื่อสกุลของวิทยากร  และพูดให้คนฟังแสดงการปรบมือ  โดยห้าม                         พูดตรง ๆ ว่า ขอเสียงปรบมือ  
            6.6       เมื่อวิทยากรบรรยายจบ  การกล่าวขอบคุณวิทยากรให้กล่าวว่า  เราได้รับประโยชน์จาก                         หัวข้อที่พูดอย่างไร  ให้คนฟังรู้สึกทราบซึ้งและอยากปรบมือให้วิทยากรเอง
7.   ขั้นตอนการทำหน้าที่พิธีกรในช่วงพิธีการเปิดประชุม /  ฝึกอบรม
            7.1       ไหว้แนะนำตัว  และทักทรายผู้เข้าร่วมประชุม / ฝึกอบรม
            7.2       กล่าวถึงความเป็นมา  กำหนดการของงาน   ชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ กล่าวเชิญชวน                               ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าห้อง  และนั่งด้านหน้า
            7.3       เมื่อประธานมาถึง  ให้ประธานพักประมาณ 5  นาที
            7.4       เมื่อประธานพร้อม  หาจังหวะตรึงใจเริ่มพิธีการ
                        ขอเชิญประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและขึ้นสู่แท่นรับฟังกล่าวรายงาน 
การบรรยายต้องรักษาเวลา
การจบการบรรยายให้ลงให้สวย  เปิดโอกาสให้ถาม
การตอบคำถาม  ถ้าไม่รู้  ก็ตอบว่าไม่รู้  แล้วจะค้นคว้าข้อมูลมาให้  อย่าเดา
เทคนิคการบรรยายให้มีประสิทธิภาพ
-          ตั้งวัตถุประสงค์ของการบรรยาย
-          กำหนดประเด็นของเนื้อหา
-          อธิบายวัตถุประสงค์ของแต่ละประเด็น
-          กำหนดเนื้อหา  และตัวอย่างสำคัญของแต่ละประเด็น
-          การบรรยายแบบจูงใจผู้ฟัง 
-          การเชื่อมต่อประเด็น
-          การสรุปประเด็น
            การเตรียมตัวต้องพิมพ์งานนำเสนอในรูปเอกสารสำรองเพื่องานนำเสนอในรูปดิจิตอลไฟล์ผิดพลาด
 

การพูดอย่างเป็นทางการ
การพูดอย่างเป็นทางการ ได้แก่  การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตอง  เป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ  และเพื่อจุด มุ่งหมายต่างกัน  เป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการ  ต้องอาศัยความรู้  ความสามารถ  ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูด  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี  ภาษาต้องสุภาพ  เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
 รูปแบบก่อนพูดอย่างเป็นทางการแบ่งออกเป็น  รูปแบบ  คือการพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  การพูดโดยกะทันหัน”  การพูดแบบนี้ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ  ประสบการณ์   ความรู้และความชำนาญที่มีอยู่เดิม การพูดโดยมีการเตรียมตัวล่วงหน้า  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า       “การพูดแบบมีโน๊ตย่อ”  ผู้พูดต้องรู้ล่วงหน้าว่าจะพูดเรื่องอะไร  ที่ไหน  ใครฟัง   จึงสามารถ  เตรียมเนื้อเรื่อง  เตรียมอุปกรณ์ประกอบการพูดและทำโน๊ตย่อหรือ    โครงเรื่องที่จะพูดมาดูได้ในขณะที่พูดการพูดจากความจำ  เรียกว่า  การพูดแบบท่องจำ”  การ พูดแบบนี้เหมาะสมกับผู้พูดที่มีความจำดี  และเป็นเรื่องที่ไม่ยาวนัก  ผู้พูดต้องมีเวลาในการนำเรื่องไปอ่าน    ท่องจำให้ได้ทั้งหมดโดยจดจำประเด็นสำคัญให้ได้การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ  เป็นการพูดตามต้นฉบับที่ตระเตรียมไว้ให้ครบถ้วน  วิธีนี้จึงดูเหมือนเป็นการอ่านจากต้นฉบับ  แต่ผู้พูดจะต้องใช้สายตามองดูผู้ฟังมากกว่าต้นฉบับ  จึงมักใช้ในการพูดที่เป็นพิธีการ  เช่น  กล่าวสุนทรพจน์ คำปราศรัย  แถลงการณ์  เป็นต้น
การพูดออกเป็น  ขั้นตอน  คือ
                  1.  ก่อนพูด  คือ  ขั้นเตรียมตัวเพื่อการพูดและฝึกพูด
                  2.  ขณะพูด  คือ  การปฏิบัติการพูดและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
                  3.  หลังพูด  คือ  การประเมินผลการพูด  อาจจะประเมินด้วนตนเองและผู้อื่นก็ได้
    หากแบ่งอย่างกว้างๆ สามารถแบ่งได้เป็น  ประเภท  คือ 1.  การพูดที่จำแนกตามจำนวนผู้ฟัง  ได้แก่
                       1.1  การพูดระหว่างบุคคล  ซึ่งอาจมีเพียง  คน  หรือในกลุ่มเล็กๆ ที่มองเห็นหน้ากัน  เช่น  การสนทนา  การเล่าเรื่อง  การแนะนำตัว   การตอบข้อซักถาม    การสัมภาษณ์  เป็นต้น
                        1.2  การพูดในที่ประชุมชน  เป็นการพูดที่มีผู้ฟังเป็นจำนวนมากจึงต้อง มีการเตรียมใจ  เตรียมความพร้อม  ทั้งในด้านบุคลิกภาพและเนื้อเรื่องที่จะนำเสนอ  เช่น  การสัมมนา  การโต้วาที  การให้โอวาท  การกล่าวแสดงสุนทรพจน์  เป็นต้น
                  2.  การพูดที่จำแนกตามประเภทของการพูด  ได้แก่
                       2.1 การพูดโดยฉับพลัน เป็นการพูดโดยไม่รู้ตัวมาก่อนแต่มีผู้เชิญให้พูดอย่างกะทันหัน  จึงมีผู้เรียกการพูดแบบนี้ว่า  การพูดแบบกลอนสด”  ผู้พูดจึงต้องอาศัยพรสวรรค์  ไหวพริบและการช่างสังเกตจึงจะทำให้การพูดลุล่วงไปด้วยดี  เช่น  การพูดอวยพรในงานมงคลสมรส  ได้รับให้กล่าวขอบคุณวิทยากรอย่างกะทันหัน  เป็นต้น
                       2.2  การพูดโดยท่องจำ  เป็นการพูดที่ผู้พูดรู้ตัวมาก่อนและมีการ    เตรียมตัวทั้งทางด้านเนื้อหา  บุคลิกภาพ  เช่น  การกล่าวต้อนรับผู้มาเยือน   การกล่าวอำลา  การกล่าวให้โอวาท  เป็นต้น  สิ่งสำคัญของการพูดแบบนี้คือ   ต้องพูดให้เป็นธรรมชาติ   ไม่ใช่พูดแบบท่องจำ
                       2.3  การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ  การพูดแบบนี้ผู้พูดจะพูดจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ล่วงหน้า  ซึ่งอาจจะเตรียมเองหรือให้ผู้อื่นเตรียมให้  ผู้พูดจึงควรมีการซ้อมอ่านมาก่อนเพื่อป้องกันการผิดพลาด 
                       2.4  การพูดโดยมีบันทึก  เป็นการพูดในที่ประชุมชนที่นิยมใช้กันมาก  และได้ผลดีกว่าแบบอื่นๆ แต่ผู้พูดต้องศึกษาค้นคว้าและเตรียมตัวล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี      ทำความเข้าใจเนื้อหาที่จะพูดให้ถ่องแท้  มีการจดบันทึกเฉพาะข้อความที่สำคัญๆ เช่น  หัวข้อสำคัญ  ตัวอย่าง  สถิติ  สำนวน  คำคม  รวมทั้งชื่อสกุลของบุคคลสำคัญที่นำมาอ้างถึงด้วย
ประเภทของการพูด
                  มี  ประเภท  คือ
                  1.  การพูดอย่างไม่เป็นทางการ  (Informal)
                  2.  การพูดอย่างเป็นทางการ  (Formal)
                  1.  การพูดอย่างไม่เป็นทางการ  (Informal) คือ การพูดในชีวิตประจำวัน  เป็นการสนทนากันตามปกติในหมู่ญาติพี่น้อง   มิตรสหาย  คนสนิทและไม่เป็นพิธีการ      ทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่ต้องเตรียมตัวมาก่อน  แบ่งออกเป็น   2  แบบ  ได้แก่
                        1.1  การพูดทั่วไป  เช่น  การพูดกับญาติพี่น้องเพื่อนสนิทมิตรสหาย  ที่มีโอกาสพบปะพูดจากันเสมอในชีวิตประจำวัน
                        1.2  การสนทนา  คือ  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสนใจร่วมกัน  การสนทนาอาจทำได้ตั้งแต่ไม่เป็นทางการจนถึงเป็นทางการ
                  2.  การพูดอย่างเป็นทางการ (Formal) ได้แก่  การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตอง  เป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ  และเพื่อจุดมุ่งหมายต่างกัน  เป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการ  ต้องอาศัยความรู้  ความสามารถ  ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูด  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี  ภาษาต้องสุภาพ  เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล  รูปแบบก่อนพูดอย่างเป็นทางการแบ่งออกเป็น  รูปแบบ  คือ
                        2.1  การพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  การพูดโดยกะทันหัน”  การพูดแบบนี้ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ  ประสบการณ์   ความรู้และความชำนาญที่มีอยู่เดิม
                  2.2  การพูดโดยมีการเตรียมตัวล่วงหน้า  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า       “การพูดแบบมีโน๊ตย่อ”  ผู้พูดต้องรู้ล่วงหน้าว่าจะพูดเรื่องอะไร  ที่ไหน  ใครฟัง   จึงสามารถ  เตรียมเนื้อเรื่อง  เตรียมอุปกรณ์ประกอบการพูดและทำโน๊ตย่อหรือ    โครงเรื่องที่จะพูดมาดูได้ในขณะที่พูด
                       2.3  การพูดจากความจำ  เรียกว่า  การพูดแบบท่องจำ”  การพูดแบบนี้เหมาะสมกับผู้พูดที่มีความจำดี  และเป็นเรื่องที่ไม่ยาวนัก  ผู้พูดต้องมีเวลาในการนำเรื่องไปอ่าน    ท่องจำให้ได้ทั้งหมดโดยจดจำประเด็นสำคัญให้ได้
                        2.4  การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ  เป็นการพูดตามต้นฉบับที่ตระเตรียมไว้ให้ครบถ้วน  วิธีนี้จึงดูเหมือนเป็นการอ่านจากต้นฉบับ  แต่ผู้พูดจะต้องใช้สายตามองดูผู้ฟังมากกว่าต้นฉบับ  จึงมักใช้ในการพูดที่เป็นพิธีการ  เช่น  กล่าวสุนทรพจน์ คำปราศรัย  แถลงการณ์  เป็นต้น
                  หากแบ่งอย่างกว้างๆ สามารถแบ่งได้เป็น  ประเภท  คือ
                  1.  การพูดที่จำแนกตามจำนวนผู้ฟัง  ได้แก่
                       1.1  การพูดระหว่างบุคคล  ซึ่งอาจมีเพียง  คน  หรือในกลุ่มเล็กๆ ที่มองเห็นหน้ากัน  เช่น  การสนทนา  การเล่าเรื่อง  การแนะนำตัว   การตอบข้อซักถาม    การสัมภาษณ์  เป็นต้น
                        1.2  การพูดในที่ประชุมชน  เป็นการพูดที่มีผู้ฟังเป็นจำนวนมากจึงต้องมีการเตรียมใจ  เตรียมความพร้อม  ทั้งในด้านบุคลิกภาพและเนื้อเรื่องที่จะนำเสนอ  เช่น  การสัมมนา  การโต้วาที  การให้โอวาท  การกล่าวแสดงสุนทรพจน์  เป็นต้น
                  2.  การพูดที่จำแนกตามประเภทของการพูด  ได้แก่
                       2.1 การพูดโดยฉับพลัน เป็นการพูดโดยไม่รู้ตัวมาก่อนแต่มีผู้เชิญให้พูดอย่างกะทันหัน  จึงมีผู้เรียกการพูดแบบนี้ว่า  การพูดแบบกลอนสด”  ผู้พูดจึงต้องอาศัยพรสวรรค์  ไหวพริบและการช่างสังเกตจึงจะทำให้การพูดลุล่วงไปด้วยดี  เช่น  การพูดอวยพรในงานมงคลสมรส  ได้รับให้กล่าวขอบคุณวิทยากรอย่างกะทันหัน  เป็นต้น
                       2.2  การพูดโดยท่องจำ  เป็นการพูดที่ผู้พูดรู้ตัวมาก่อนและมีการ    เตรียมตัวทั้งทางด้านเนื้อหา  บุคลิกภาพ  เช่น  การกล่าวต้อนรับผู้มาเยือน   การกล่าวอำลา  การกล่าวให้โอวาท  เป็นต้น  สิ่งสำคัญของการพูดแบบนี้คือ   ต้องพูดให้เป็นธรรมชาติ   ไม่ใช่พูดแบบท่องจำ
                       2.3  การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ  การพูดแบบนี้ผู้พูดจะพูดจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ล่วงหน้า  ซึ่งอาจจะเตรียมเองหรือให้ผู้อื่นเตรียมให้  ผู้พูดจึงควรมีการซ้อมอ่านมาก่อนเพื่อป้องกันการผิดพลาด 
                       2.4  การพูดโดยมีบันทึก  เป็นการพูดในที่ประชุมชนที่นิยมใช้กันมาก  และได้ผลดีกว่าแบบอื่นๆ แต่ผู้พูดต้องศึกษาค้นคว้าและเตรียมตัวล่วงหน้ามาเป็นอย่างดี      ทำความเข้าใจเนื้อหาที่จะพูดให้ถ่องแท้  มีการจดบันทึกเฉพาะข้อความที่สำคัญๆ เช่น  หัวข้อสำคัญ  ตัวอย่าง  สถิติ  สำนวน  คำคม  รวมทั้งชื่อสกุลของบุคคลสำคัญที่นำมาอ้างถึงด้วย  เป็นต้น
                  นภดล  จันทร์เพ็ญ  (2539 : 59)  ได้แบ่งการพูดออกเป็น  ประเภท  คือ
                  1.  การพูดอย่างไม่เป็นทางการ  (Informal)  คือการพูดในชีวิตประจำวัน  เป็นการสนทนากันตามปกติในหมู่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง  ไม่เป็นพิธีการ  มีจำนวนผู้ฟังไม่    มากนัก  แบ่งออกเป็น  ประเภท  คือ
                       1.1  การพูดทั่วไป  คือ  การพูดกับญาติพี่น้อง  เพื่อนสนิทมิตรสหายที่มีโอกาสพบปะพูดคุยกันเสมอๆ ในชีวิตประจำวันการพูดแบบนี้ไม่ต้องมีการเตรียมตัว 
                 1.2  การสนทนา  เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสนใจร่วมกัน  โดยมีผู้ร่วมสนทนาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป   การสนทนาอาจทำได้ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับคู่สนทนาจึงควรมีลักษณะดังนี้
                                 1.2.มีความรู้รอบตัวและมีปฏิภาณไหวพริบ
                                 1. 2.2  เป็นผู้ฟังที่ดี
                                 1.2.มีอารมณ์ขัน  ร่าเริง  แจ่มใส
                                 1.2.ใจกว้าง  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                                  1.2.ให้ความสนใจและเข้าใจคู่สนทนา
                                  1.2.มีความจริงใจและให้เกียรติคู่สนทนา
                                  1.2.สามารถนำผู้อื่นเข้าร่วมสนทนาได้
                                  1.2.8  พูดเรื่องที่คู่สนทนารู้และสนใจ
                                  1.2.9  มีศิลปะในการแสดงความคิดเห็นขัดแย้งได้อย่างนุ่มนวล
                                  1.2.10 รู้จักยกย่องคู่สนทนาอย่างพอเหมาะพอดี
                                  1.2.11 มีความสุภาพอ่อนโยนทั้งคำพูดและกิริยาอาการ
                                  1.2.12 มีศิลปะในการกล่าวคำปฏิเสธ
                  2.  การพูดอย่างเป็นทางการ  (Formal)  คือ  การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตองเป็นแบบแผน  และส่วนใหญ่เป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ   และเพื่อ   จุดมุ่งหมายต่างกัน  ภาษาที่ใช้ต้องสุภาพ  เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล  เช่น  การปาฐกถา  การอภิปราย  การโต้วาที  การกล่าวสุนทรพจน์  เป็นต้น
             ในการพูดอย่างเป็นทางการหรือการพูดในที่ชุมชน ผะอบ โปษะกฤษณะ  (2535 : 120)  ได้แบ่งขั้นตอนการพูดออกเป็น  ขั้นตอน  คือ
                  1.  ก่อนพูด  คือ  ขั้นเตรียมตัวเพื่อการพูดและฝึกพูด
                  2.  ขณะพูด  คือ  การปฏิบัติการพูดและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
                  3.  หลังพูด  คือ  การประเมินผลการพูด  อาจจะประเมินด้วนตนเองและผู้อื่นก็ได้
เทคนิคการพูดในที่ชุมนุมชน การพูดในที่ชุมนุม คือ การสนทนาที่ได้ขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เป็นการสื่อสารอย่างมีจุดมุ้งหมาย การระงับการประหม่าตื่นเต้น 1. การเตรียมตัวที่ดี : การคิด การอ่าน การพูด ฝึกซ้อมเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี (ควรมีการเตรียมข้อมูลอย่างน้อย 2 สัปดาห์) 2. บอกตัวเองว่า การตื่นเต้นไม่ได้เกิดกับเราเพียงคนเดียว 3. บอกตัวเองว่า นี้คือส่วนหนึ่งของการเล่นเกมส์ เพราะต้องเผชิญกับสภาวะการถูกทดสอบว่า เราเล่นสำเร็จหรือไม่ 4. มองภาพคนฟังทุกคนให้เป็นมิตรอย่างสม่ำเสมอ ส่วนมากคนพูดที่เกิดอาการประหม่า เพราะกลัวคนฟัง 5. มีสมาธิ ไม่วอกแว่กเอาใจใส่กับเนื้อหาสาระที่พูด 6. การผ่อนคลาย ความเครียด ในขณะรอพูด จงบอกตัวเองว่า "ทำใจให้สบาย เราทำได้" ให้พูดออกไปด้วยความมั่นใจ เพราะเราพูดในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ แต่เราทำมากับมือ 7. เรามักถามตัวเองเสมอว่า "นี้เราจะทำสำเร็จหรือไม่" " เราจะทำได้ " ขอให้ท่านลงมือทำ และทำให้ดีที่สุด เท่าความสามารถที่มี 8. ขอให้ก้าวออกมาเริ่มต้นครั้งแรก และจะพัฒนาได้ในครั้งต่อๆ ไป (ประสบการณ์ คือบทเรียน) ลักษณะการพูดที่ดี 1. ออกเสียงให้ชัดเจน -คำที่นำมาใช้ต้องการความหมาย ภาษาอังกฤษต้องแปล -วรรคตอนดี ถูกต้อง -อักษรควบกล้ำ -วางหัวข้อก่อน-หลังให้ชัดเจน -น้ำหนักของเสียง (อันไหนเน้นต้องเน้น) 2. ความถูกต้องแม่นยำ -ตรวจสอบข้อมูลของผู้ฟังให้ถูกต้องก่อนพูด -ไม่ควรใช้ำคำย่อ เช่น พ.ศ., กกต. ฯลฯ -ข้อมูลตรงกับความจริง 3. ความน่าสนใจ -การแต่งการให้ร่วมสมัย -แต่งตัวให้อ่อนกว่าอายุ -ความเชื่อมั่นที่แสดงออก เหมาะสมไม่ก้าวร้าว -มีความเป็นมิตร สบายๆ แสดงออกทางสีหน้าและแววตา -การใช้เสียง ต้องมีพลัง สามารถควบคุมได้ -เรื่องราวที่นำมาพูดต้องทันเหตุการณ์เสมอ -การเคลื่อนไหวร่างกายในขณะพูด เมื่อพูดจบแต่ละเรื่องราว ควรเว้นความต่อเนื่อง นักพูดที่ดี 1. มีสมาธิ เอาใจใส่ต่อสิ่งที่กำลังทำอยู่ 2. มีความกระฉับกระเฉง สนใจสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว กระตือรือร้น มีชีวิตชีวา 3. ต้องเป็นคนมีความคิด รอบคอบ ไม่ใช่เพียงเพื่อขอให้ได้พูด 4. สำนึกในความรับผิดชอบ -รับผิดชอบต่อผู้ฟัง พูดในสิ่งที่มีประโยชน์คุ้มค่าต่อเวลา -รับผิดชอบต่อบุคคลอื่นที่ร่วมอยู่ในรายการ -รับผิดชอบต่อหัวข้อเรื่อง เนื้อหาที่นำมาพูดได้ความชัดเจน 5. มีลักษณะผู้นำ (ยืนตัวตรง , เปิดเผยตัวเองในที่สาธารณะชน) 6. รู้จักประมาณตน ถ่อมตน รู้จักทำใจให้เป็นกลาง รู้จักตัวเองมีเหตุผล มีสติ สุขภาพจิตดี การใช้ทัศนูปกรณ์ 1. มีขนาดใหญ่มองเห็นชัดเจนจากทุกมุมห้อง 2. การบรรยายประกอบควรยืนด้านข้างอุปกรณ์ 3. ควรศึกษาทำความเข้าใจอุปกรณ์ก่อนการบรรยาย 4. ถ้าจำเป็นต้องถืออุปกรณ์ด้วยตัวเอง ควรไว้ด้านหน้า หรือด้านข้างลำตัว เนื่องจากอุปกรณ์ที่นำเสนอ เป็นประโยชน์ต่อคนฟัง ไม่ใช่คนพูด 5. การวาดภาพบนกระดานดำ ควรมีการฝึกมาก่อน 6. เอกสารแจกผู้ฟัง ควรมากพอเท่าจำนวนผู้ฟัง ไม่ควรใช้การหมุนเวียน กรณีเอกสารมีน้อยจะทำให้เกิดความวุ่นวายสับสน 7. หัวข้อเรื่องเนื้อหาของการพูด ควรใช้กระดาษบันทึกขนาดเล็ก ใส่หมายเลขตามลำดับก่อนหลังตามลำดับ ข้อห้ามที่ไม่ควรทำ การพูด : เอ้อ อ้า แบบว่า ก็ และก็ แล้วอ้า คิดว่า ควร วลีที่ปราศจากความหมาย : อะไรเนี๊ยะ อะไรพวกเนี๊ยะนะฮะ พูดใช้ได้ ดีพอสมควร ใช้ได้ดีพอสมควร เหล่าเนี๊ยะนะฮะ ............นะคะ .............นะครับ ฯลฯ อากัปกิริยาที่ต้องห้าม : แกว่ง : โยก : เขย่า : กระดิกร่างกาย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย : เล่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะพูด ควรวางมือขวาทับมือซ้าย ประมาณใต้เข็มขัด : แลบลิ้น : หัวเราะจนตัวงอ : ไม่มองหน้าผู้ฟัง