ค้นหาบล็อกนี้


27 มิถุนายน 2554

WordPress.

Wordpress

คือโปรแกรมชนิดหนึ่ง?ที่มีระบบในการช่วยจัดการเนื้อหาบนเว็บ

ได้อย่างง่ายดาย หรือที่หลายๆ คนใช้คำว่า Contents Management System (CMS)

ซึ่งจริงๆ แล้ว โปรแกรมประเภท CMS มีเยอะแยะ อย่างเช่น PHP Nuke, Joomla, Mambo,

OScommerce, Magento เป็นต้น

Wordpress เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย สำหรับคนที่ต้องการมีบล็อกส่วนตัว

เป็นที่โปรแกรมที่นิยมกันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยเราด้วยเช่นกันครับ

นอกจากการติดตั้งง่ายแล้ว Wordpress ?ยังมีข้อดีก็คือ เราสามารถหา

ดาวน์โหลดธีม (Themes) หรือหน้าตาของเว็บ?รูปแบบต่างๆ

บทที่ 3 อาร์เรย์ (Array)



ตามปกติแล้ว โครงสร้างข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.       โครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น (Linear Lists) มีรูปแบบเป็นรายการต่อเนื่อง­­­­ ข้อมูลที่จัดเก็บมีลักษณะเป็นแถวลำดับต่อเนื่องกันไป ประกอบด้วย
- อาร์เรย์ (Array)
- สแต็ก (Stacks)
- คิว (Queues)                    เป็นต้น

2.       โครงสร้างข้อมูลแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Non- Linear Lists) ชนิดนี้ตรงกันข้ามกับแบบแรก เช่น
- ทรี (Trees)
- กราฟ (Graphs)

โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์
                คือ การรวมกลุ่มของตัวแปรที่สามารถใช้ตัวแปรชื่อเดียวแทนข้อมูลสมาชิกได้หลายๆ ตัวในคราวเดียวกัน ด้วยการใช้เลขดรรชนี (Index) หรือซับสคริปต์ (Subscript) เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งสมาชิกบนแถวลำดับนั้นๆ เช่น
                                score [1]              คือคะแนนทดสอบของนักศึกษาคนแรก
                                score [50]            คือคะแนนทดสอบของนักศึกษาคนสุดท้าย

คุณสมบัติของอาร์เรย์
1.       เป็นตัวแทนกลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน
2.       สมาชิกของอาร์เรย์จะมีคุณสมบัติเหมือนๆ กัน
3.       มีขนาดคงที่
4.       ผู้ใช้สามารถอ้างอิงเพื่อเข้าถึงข้อมูลได้ทันที

การอ้างอิงตำแหน่งสมาชิกในอาร์เรย์
                จะต้องเริ่มต้นด้วยชื่ออาร์เรย์และตามด้วยเลขลำดับกำกับไว้ด้วย เลขเหล่านี้สามารถเรียกได้หลายชื่อด้วยกัน เช่น ซับสคริปต์ หรือ เลขดรรชนี

ขอบเขตของอาร์เรย์
เลขดรรชนีในอาร์เรย์ประกอบด้วยช่วงของเขตของค่า ซึ่งประกอบด้วยขอบเขตล่างสุด

การจัดเก็บอาร์เรย์ในหน่วยความจำ
                จะมีลักษณะต่อเนื่องกัน และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บเท่าๆ กัน สมาชิกทุกตัวต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกตำแหน่งในอาร์เรย์ได้โดยตรง การเข้าถึงสมาชิกในลำดับแรกและลำดับสุดท้าย ใช้เวลาเท่าๆ กัน

อาร์เรย์หนึ่งมิติ (One Dimension Array)
                จะมีการจัดเก็บข้อมูลลักษณะต่อเนื่องเป็นแถว อาจนำเสนอในมุมมองแนวนอนหรือตั้งก็ได้
ตัวอย่างของ Array
คีย์ (Key) ->
0
1
2
3
4
5
6
สมาชิก (Element)  ->
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
    เมื่อมีการใช้งาน Array ใน PHP เราจะต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับคำว่า
    สมาชิก (Element) - ค่าของข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Array
    คีย์ (Key) หรือโดยทั่วไปเรียกว่า index - ค่าที่ใช้ระบุตำแหน่งของสมาชิกใน Array โดยจะเริ่มที่ตำแหน่ง 0 เสมอ

อาร์เรย์สองมิติ (Tow Dimension Array)
                จะมีรูปแบบเป็นตารางที่ประกอบด้วยแถว (Row) และคอลัมน์ (Column) ในเชิงคณิตศาสตร์ก็คือแมทริกซ์ (Matrix) การอ้างตำแหน่งจึงต้องระบุตำแหน่งแถวและคอลัมน์

อาร์เรย์สามมิติ (Three Dimension Array)
                คือ การนำเอาอาร์เรย์สองมิติมาซ้อนกันหลายๆ ชั้น ทำให้นอกจากจะมีแถวและคอลัมน์แล้ว ก็จะมีความลึกเพิ่มขึ้นอีก


**********จบบทที่ 3 แล้วจ่ะ**********

21 มิถุนายน 2554

บทที่ 2 Review C Language (ทบทวนภาษาซี)



Objective (จุดประสงค์)
                    - เข้าใจรูปแบบคำสั่งที่ใช้ในภาษา C
          - เข้าใจวิธีการดำเนินการ
                    - เข้าใจวิธีการวนรอบ
                    - สามารถสร้างโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการหน่วยความจำ
          - สามารถสร้างฟังก์ชันและการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ

คำสั่งพื้นฐานต่างๆ
                คำสั่งพื้นฐานต่างๆ เช่น printf, scanf
                                printf เช่น             printf(“abc”);
                                                         printf(“%s”,”abc”);
                                scanf เช่น             scanf(“%d”,&x);
                Format Code ใช้ในการแสดงผลที่นิยมใช้ ได้แก่
                                                     %d          -decimal integer
                                %c          -character
                                %f           -floating point number
                                %s          -string

Operator  (ตัวดำเนินการ)
                เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.       Arithmetic Operators ได้แก่ +, -, *, /, %, --, ++
2.       Relational and Equality Operators ได้แก่ <, >, <=, >=, ==, !=
3.       Logical Operators ได้แก่ !, &&, ||

Expression (นิพจน์)
                หมายถึง การนำตัวแปรค่าคงที่มาสัมพันธ์กัน โดยใช้เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
                                                X + 1
                             A * b / c
                นิพจน์จะทำงานจากซ้ายไปขวาตามลำดับการทำงานของเครื่องหมาย
1.       วงเล็บ ( )
2.       !,  ++,  --
3.       *,  /,  %
4.       +,  -
5.       <,  <=,  >,  >=
6.       ==, !=
7.       &&
8.       ||
Selection (ทางเลือก) / Condition (ลักษณะ)
                           - if statement
                - if – else statement
                - if – else statement (Nested if)
                - switch statement

                                if statement
                                                Format:
                                                                if (expression)
                                                                         statement;
                                                Example:
                                                                if (score >= 80)
                                                                         printf(“YOUR grade is A \n”);

                                if – else statement
                                                Format:
                                                                if  (expression)
                                                                         statement-1;
                                                                else
                                                                         statement-2;

                                if – else statement (Nested if)
                                                Format:
                                                                if (expression-1)
                                                                         statement-1;
                                                                else if (expression-2)
                                                                         statement-2;
                                                                else
                                                                         statement-3;

                                switch statement
                                                Format:
                                                                switch (expression) {
                                                                         case const- expression-1;
                                                                                    statement-1;
                                                                                    break;
                                                                         case const- expression-2;
                                                                                    statement-2;
                                                                                    break;
                                                                         [ default: statement- default; ]
                                                                }

Repetition / Loop (การทำซ้ำ)

while statement

                Format:
                                while (expression) {
                                         statement-1;
                                         statement-2;
                                                   
                                         statement-n;
                                }

for statement

                Format:
                                for (expression-1; expression-2; expression-3) {
                                         statement-1;
                                         statement-2;
                                                      
                                         statement-n;
                                }

do – while statement

                Format:
                                do {
                                        statement-1;
                                         statement-2;
                                                      
                                         statement-n;
                                } while (expression);

Function (ฟังก์ชัน)

ข้อดี
-                     -เขียน Code ครั้งเดียว แต่สามารถเรียกใช้ได้หลายครั้ง
-                     -นำกลับมาใช้ใหม่ ในโปรแกรมอื่นได้
-                     -การแก้ไขจะแก้ไขเพียงที่เดียว
-                     -โปรแกรมมีความเป็นโครงสร้าง
-                     -แบ่งเป็นโมดูลย่อยๆ ได้

Function (ฟังก์ชัน) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.   Library Function เป็นโปรแกรมที่ผู้ผลิตโปรแกรมภาษาซี เป็นผู้เขียนขึ้น ไลบรารี่ฟังก์ชั่นจะติดมากับตัวโปรแกรมภาษาซีสามารถเรียกใช้โดย ใช้คำสั่ง #include 

Format:
        #inciude <file-name>


วิธีเรียกใช้งาน Library Function
-                     เรียกชื่อของฟังก์ชันที่ต้องการใช้งาน
-                     เอาค่าที่จะส่งไปทำงานในฟังก์ชัน ใส่ลงในวงเล็บตามหลังชื่อฟังก์ชันนั้น


ตัวอย่าง Library Function
        strcpy( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล string.h
ทำหน้าที่: คัดลอกข้อมูลจาก string หนึ่งไปยังอีก string หนึ่ง

                         Format:
                                                        strcpy(str1, str2);

        strcat( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล string.h
ทำหน้าที่: ใช้เชื่อมต่อข้อความ 2 ข้อความเข้าด้วยกัน
                        Format:
                                        strcat(str1, str2);

strlen( ) -อยู่ในแฟ้มข้อมูล string.h
ทำหน้าที่: หาความยาวของข้อความ
                        Format:
                                        strlen(s);

tolower( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล ctype.h
ทำหน้าที่: เปลี่ยนตัวอักษรจากตัวใหญ่เป็นเล็ก
                        Format:
                                        tolower(ch);

toupper( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล ctype.h
ทำหน้าที่: เปลี่ยนตัวอักษรจากตัวเล็กเป็นใหญ่
                        Format:
                                        toupper(ch);

getchar( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล stdio.h
ทำหน้าที่: รับอักขระทางแป้นพิมพ์ทีละ 1 ตัว ต้องกด Enter เมื่อสิ้นสุดข้อมูล และข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพด้วย
                                Format:
                                                getchar( );

getch( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล stdio.h
ทำหน้าที่: รับอักขระทางแป้นพิมพ์ทีละ 1 ตัว เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และจะไม่ปรากฎบนจอภาพ
                                Format:
                                                getch( );

gets( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล stdio.h
ทำหน้าที่: รับข้อมูลที่เป็นข้อความจากแป้นพิมพ์เก็บไว้ในตัวแปรชุด
                                Format:
                                                get( );

putchar( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล stdio.h
ทำหน้าที่: แสดงผลบนจอภาพ ทีละ 1 ตัวอักขระ
                                Format:
                                                putchar( );

put( ) อยู่ในแฟ้มข้อมูล stdio.h
ทำหน้าที่: แสดงผลเป็นข้อความที่เก็บไว้ในตัวแปรชุด
                                Format:
                                                puts( );

2.   User Defined Function คือ ฟังก์ชันที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนฟังก์ชันขึ้นมาใช้เอง โดยฟังก์ชันนี้อาจจะรวมอยู่กับโปรแกรมหลักเป็นแฟ้มเดียวกัน หรือแยกไว้คนละแฟ้มก็ได้

การสร้างฟังก์ชัน ประกอบด้วย

-                     Function Definition (นิยามฟังก์ชัน)
คือ รายละเอียดในการทำงานของฟังก์ชัน

-                     Function Prototype (ต้นแบบฟังก์ชัน)
เป็นตัวบอกให้ Compiler ทราบว่ามีการประกาศฟังก์ชันขึ้นและฟังก์ชันนั้นมีค่าที่ส่งกลับเป็นอะไร มีการรับพารามิเตอร์อะไรบ้าง มีประโยชน์ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดระหว่างการเรียกใช้ฟังก์ชัน  เราจะเขียน Function Prototype ไว้ที่ต้นโปรแกรม

-                     Invocation (การร้องขอ)
คือ การเรียกใช้ฟังก์ชัน มีลักษณะดังนี้
1.   ฟังก์ชันที่ไม่มีการเรียกค่ากลับ  การเรียกใช้ทำได้โดยอ้างถึงชื่อฟังก์ชัน
2.   ฟังก์ชันที่มีการส่งค่ากลับ  การเรียกใช้ทำได้เหมือนแบบแรก แต่ต้องมีตัวแปรมารับค่าที่จะส่งกลับมาด้วย
3.   ฟังก์ชันที่มีการรับค่า argument  การเรียกใช้ฟังก์ชัน ทำได้โดยอ้างถึงชื่อของฟังก์ชันพร้อมทั้งส่งค่าของตัวแปรไปด้วย โดยจะต้องมีชนิดสอดคล้องกับ argument ของฟังก์ชันที่เรียกใช้  การผ่านค่า argument ทำได้ 2 แบบ คือ
3.1       Pass by Value คือการส่งค่าไปยังฟังก์ชันที่ถูกเรียกใช้โดยส่งค่าของตัวแปรหรือค่าคงที่ไปโดยตรง ค่าของอาร์กิวเมนต์ที่ผ่านให้กับฟังก์ชันจะถูกคัดลอกส่งไปให้กับฟังก์ชัน และจะถูกเปลี่ยนแปลงเฉพาะภายในฟังก์ชัน โดยค่าของอาร์กิวเมนต์ในโปรแกรมที่เรียกใช้จะไม่เปลี่ยนแปลง
3.2       Pass by Reference คือการส่งค่าไปยังฟังก์ชันที่ถูกเรียกใช้โดยส่งเป็นค่าตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปรไป ซึ่งหากภายในฟังก์ชันมีการเปลี่ยนแปลงค่าของอาร์กิวเมนต์ที่ส่งไป ก็จะมีผลทำให้ค่าของอาร์กิวเมนต์นั้นในโปรแกรมที่เรียกใช้เปลี่ยนไปด้วย การผ่านอาร์กิวเมนต์แบบนี้ ทำได้ ดังนี้
·        ต้องกำหนดอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชันเป็น pointer (*)
·        การเรียกใช้จะผ่าน address เป็น argument (&)
·        ภายในฟังก์ชัน การเรียกใช้ format argument เวลาใช้งานจะใช้ dereferencing operator (*)

**********บทที่ 2 จบแล้วจ่ะ**********