ค้นหาบล็อกนี้


27 มิถุนายน 2554

บทที่ 3 อาร์เรย์ (Array)



ตามปกติแล้ว โครงสร้างข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.       โครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น (Linear Lists) มีรูปแบบเป็นรายการต่อเนื่อง­­­­ ข้อมูลที่จัดเก็บมีลักษณะเป็นแถวลำดับต่อเนื่องกันไป ประกอบด้วย
- อาร์เรย์ (Array)
- สแต็ก (Stacks)
- คิว (Queues)                    เป็นต้น

2.       โครงสร้างข้อมูลแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Non- Linear Lists) ชนิดนี้ตรงกันข้ามกับแบบแรก เช่น
- ทรี (Trees)
- กราฟ (Graphs)

โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์
                คือ การรวมกลุ่มของตัวแปรที่สามารถใช้ตัวแปรชื่อเดียวแทนข้อมูลสมาชิกได้หลายๆ ตัวในคราวเดียวกัน ด้วยการใช้เลขดรรชนี (Index) หรือซับสคริปต์ (Subscript) เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งสมาชิกบนแถวลำดับนั้นๆ เช่น
                                score [1]              คือคะแนนทดสอบของนักศึกษาคนแรก
                                score [50]            คือคะแนนทดสอบของนักศึกษาคนสุดท้าย

คุณสมบัติของอาร์เรย์
1.       เป็นตัวแทนกลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน
2.       สมาชิกของอาร์เรย์จะมีคุณสมบัติเหมือนๆ กัน
3.       มีขนาดคงที่
4.       ผู้ใช้สามารถอ้างอิงเพื่อเข้าถึงข้อมูลได้ทันที

การอ้างอิงตำแหน่งสมาชิกในอาร์เรย์
                จะต้องเริ่มต้นด้วยชื่ออาร์เรย์และตามด้วยเลขลำดับกำกับไว้ด้วย เลขเหล่านี้สามารถเรียกได้หลายชื่อด้วยกัน เช่น ซับสคริปต์ หรือ เลขดรรชนี

ขอบเขตของอาร์เรย์
เลขดรรชนีในอาร์เรย์ประกอบด้วยช่วงของเขตของค่า ซึ่งประกอบด้วยขอบเขตล่างสุด

การจัดเก็บอาร์เรย์ในหน่วยความจำ
                จะมีลักษณะต่อเนื่องกัน และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บเท่าๆ กัน สมาชิกทุกตัวต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกตำแหน่งในอาร์เรย์ได้โดยตรง การเข้าถึงสมาชิกในลำดับแรกและลำดับสุดท้าย ใช้เวลาเท่าๆ กัน

อาร์เรย์หนึ่งมิติ (One Dimension Array)
                จะมีการจัดเก็บข้อมูลลักษณะต่อเนื่องเป็นแถว อาจนำเสนอในมุมมองแนวนอนหรือตั้งก็ได้
ตัวอย่างของ Array
คีย์ (Key) ->
0
1
2
3
4
5
6
สมาชิก (Element)  ->
มกราคม
กุมภาพันธ์
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
    เมื่อมีการใช้งาน Array ใน PHP เราจะต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับคำว่า
    สมาชิก (Element) - ค่าของข้อมูลที่เก็บอยู่ใน Array
    คีย์ (Key) หรือโดยทั่วไปเรียกว่า index - ค่าที่ใช้ระบุตำแหน่งของสมาชิกใน Array โดยจะเริ่มที่ตำแหน่ง 0 เสมอ

อาร์เรย์สองมิติ (Tow Dimension Array)
                จะมีรูปแบบเป็นตารางที่ประกอบด้วยแถว (Row) และคอลัมน์ (Column) ในเชิงคณิตศาสตร์ก็คือแมทริกซ์ (Matrix) การอ้างตำแหน่งจึงต้องระบุตำแหน่งแถวและคอลัมน์

อาร์เรย์สามมิติ (Three Dimension Array)
                คือ การนำเอาอาร์เรย์สองมิติมาซ้อนกันหลายๆ ชั้น ทำให้นอกจากจะมีแถวและคอลัมน์แล้ว ก็จะมีความลึกเพิ่มขึ้นอีก


**********จบบทที่ 3 แล้วจ่ะ**********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น